พัฒนาการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 จากการที่วิทยาลัยครู ทั่วประเทศมีการแบ่งส่วนการบริหารงานภายใน โดยกำหนดให้แยกเป็นคณะวิชา ซึ่งประกอบด้วยภาควิชาต่างๆ มีเป้าประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาการศึกษา หลักสูตรแรกที่เปิดสอน คือ วิชาเอกภาษาไทย ต่อมาจึงเปิดสอนวิชาเอกภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะวิทยาลัยครูตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูขึ้นเป็น “สถาบันราชภัฏ” คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” และเริ่มเปิดสอนระดับปริญญาตรีสาขาอื่นๆ เพิ่มขึ้นทั้งสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ต่อมาได้มีการแยกสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ ได้แก่ หลักสูตรสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน หลักสูตรสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ หลักสูตรสาขาวิชานิติศาสตร์ หลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์ และหลักสูตรสาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ไปสังกัดวิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งเป็นหน่วงงานจัดตั้งภายในมีฐานะเทียบเท่าคณะ โดยผ่านมติสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2560 ทำให้ปัจจุบันคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีหลักสูตรสาขาทางสายมนุษยศาสตร์จำนวน 7 หลักสูตรสาขาวิชาได้แก่
1. หลักสูตรสาขาวิชารภาษาไทย
2. หลักสูตรสาขาวิชาภาษาอังกฤษ
3. หลักสูตรสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
4. หลักสูตรสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
5. หลักสูตรสาขาวิชาดนตรีสากล
6. หลักสูตรสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
7. หลักสูตรสาขาวิชาภาษาจีน
8. หลักสูตรสาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ
H – Humanity (ความเป็นมนุษย์) ให้ความเคารพในศักดิ์ศรีและคุณค่าของแต่ละบุคคล ด้วยการดูแลและเอาใจใส่ต่อความรู้สึกและความเป็นอยู่ของพนักงาน
U – Unity (ความเป็นหนึ่งเดียว) ร่วมมือและประสานงานกันอย่างราบรื่นในการทำงานเป็นทีม
S – Success (ความสำเร็จ) มุ่งมั่นปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและยกระดับผลการดำเนินงาน
O – Open mind (ความเปิดกว้าง) มีความยืดหยุ่นและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างคล่องตัว